การเขียนบทจะให้สมบูรณ์นั้น
ผู้เขียนบทจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ในการเขียนบท
4.1 แนวคิดหลัก (Idea
& Main Idea) เป็นเสมือน
โครงหรือแก่นของเรื่องนั้นๆ ผู้เขียนบทจะต้องจับ
หรือดึงเอาข้อมูลหรือเนื้อหาบางอย่างมาเป็นแกนของเรื่องให้ได้
4.2 การเลือกเรื่องผู้เขียนและผู้จัดรายการบทความต้องพิจารณาว่า บทความควรจะเป็นเรื่องอะไร ที่ส่วนใหญ่สนใจ
เหตุผลที่จะเขียนเรื่องนั้น
ตั้งประเด็นให้แน่นอนลงไปว่าจะเขียนเพื่อจุดประสงค์อะไร สนับสนุนหรือคัดค้านอะไร
หรือเพียงแต่ให้ข้อเท็จจริงแล้วเขียนให้อยู่ในประเด็น
4.3 การศึกษาค้นคว้า
เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ
มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย
การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น
คุณภาพของบทจะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล
ไม่ว่าบทนั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม โดยซักถามจากนักวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ
ค้นคว้าจากห้องสมุดหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จัดเก็บเอาไว้ เสร็จแล้วก็ลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา
4.4 การจัดลำดับข้อมูลหรือเนื้อหา การจัดทำลำดับเนื้อหา เรื่องราวของบทเรียน
เป็นการนำกรอบเนื้อหา ที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรมสุดท้าย
นำมาลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา การจัดลำดับเนื้อหาต้อง
เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว
เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น
แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ
4.5 ความยาว สิ่งที่จำเป็นอีกประการหนึ่งสำหรับผู้เขียนบท
ก็คือต้องทราบว่าเวลาสำหรับนำเสนอรายการนั้นมีระยะเวลาเท่าไร
ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเข้าใจถ่องแท้ เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ
ที่เกี่ยวกับเวลาด้วยแล้วจึงกำหนดรูปแบบของรายการ
4.6 การวางเค้าโครงเรื่องมีจุดประสงค์เพื่อให้งานชิ้นที่เขียนมีจุดหมายที่แน่นอนไม่วกเวียนออกนอกเรื่อง ทำให้วางแนวในการเขียนได้ถูกต้องและทำให้เขียนบทความตามที่ต้องการได้เร็วขึ้น
และกำหนดบทนำ ตัวเรื่องและการจบให้มีหลักเกณฑ์ที่ดี แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/chaipon4256/khwam-ru-keiyw-kab-kar-kheiyn-bth-beuxng-tn
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น