วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเขียนบทสัมภาษณ์

    การเขียนบทสัมภาษณ์เพื่อนำเสนอในสื่อต่าง ๆ  มีรูปแบบและเทคนิคในการเขียนแตกต่างกัน สำหรับงานเขียนแต่ละประเภทจะยึดรูปแบบการเขียนพื้นฐานทั่ว ๆ ไป คือ มีชื่อเรื่อง (title)  ความนำหรือเกริ่นนำ (intro)  ส่วนที่เป็นเนื้อหา(content)  และ  ส่วนปิดท้ายหรือสรุป (conclusion)  การเขียนบทสัมภาษณ์สามารถยึดหลักการเขียนดังกล่าวเป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะนักเขียนบทสัมภาษณ์ที่เพิ่งเริ่มต้น  เราอาจพบบทสัมภาษณ์บางเรื่องที่ไม่ได้ยึดหลักพื้นฐานดังกล่าว คือ ไม่มีส่วนนำหรือเกริ่นนำ ไม่มีส่วนท้ายหรือสรุปปิดท้าย  อาจเป็นเพราะพื้นที่ในการตีพิมพ์มีจำกัด จึงต้องมุ่งนำเสนอเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ให้ได้มากที่สุด  ในการสัมภาษณ์บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีส่วนนำเพราะเป็นบุคคลที่รู้จักกัน
รูปแบบในการเขียนบทสัมภาษณ์ที่พบเห็นโดยทั่วไปนั้นดีอยู่แล้ว  สามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ1. การเขียนบทสัมภาษณ์แบบถาม-ตอบ
         เป็นบทสัมภาษณ์พื้นฐานที่นิยมเขียนกันมาก  เพราะเป็นการนำเสนอที่เรียบง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคการเขียนโดยเฉพาะด้านสำนวนภาษามากมายนัก เพียงแค่นำคำถามและคำตอบมาเรียบเรียงให้ได้ใจความสำคัญ และนำเสนอโดยเรียงลำดับเนื้อหาให้ชัดเจนเท่านั้น 
2. การเขียนบทสัมภาษณ์แบบร้อยเรียง
         เป็นการเขียนบทสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ได้ถอดความจากการสัมภาษณ์ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราว โดยเป็นการเขียนที่ไม่จำเป็นต้องมีคำถามของผู้สัมภาษณ์ปรากฏอยู่ในบทสัมภาษณ์เสมอไป เป็นบทสัมภาษณ์ที่อาจมีการยกคำพูด (direct quote) สำคัญ ๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์มาสอดแทรกในเนื้อหาบ้างเพื่อเป็นการเน้นย้ำ
3. การเขียนบทสัมภาษณ์แบบผสมผสาน
        คือการเขียนบทสัมภาษณ์ที่นำรูปแบบการเขียนแบบถาม-ตอบ และการเขียนแบบร้อยเรียงมาผสมกัน การเขียนรูปแบบนี้เป็นการสร้างสีสันให้บทสัมภาษณ์ไม่น่าเบื่อได้อีกรูปแบบหนึ่ง มักใช้กับการสัมภาษณ์ที่มีหลายช่วงเหตุการณ์ ซึ่งเนื้อหาเรื่องไม่ปะติดปะต่อกัน แต่คนสัมภาษณ์ต้องการเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้าไว้ในบทสัมภาษณ์
แหล่งที่มา :https://aofzaa.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น