1.โครงเรื่อง (plot) หมายถึง
การลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละครอย่างมีจุดหมายปลายทาง และมีเหตุผล
การวางโครงเรื่อง คือ
การวางแผนหรือการกำหนดเส้นทางของการกระทำของตัวละคร
ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆโครงเรื่องที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง
มีความยาวพอเหมาะ ประกอบด้วย ตอนต้น กลาง จบ
เหตุการณ์ทุกตอนมีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผล ตามกฎแห่งกรรม
โครงเรื่องที่บกพร่องตามทฤษฎีของอริสโตเติล
(Aristotle) คือ
โครงเรื่องประเภทที่ผู้เขียนนำเอาเหตุการณ์ต่างๆ มาต่อกันเป็นตอน
โดยแต่ละตอนไม่ได้มีความเกี่ยวพันกันเลย ถ้าแม้จะตัดตอนใดตอนหนึ่ง
ก็ไม่กระทบกับโครงสร้างของเรื่องเลยแม้แต่น้อย
2.ตัวละคร
และการวางลักษณะนิสัยตัวละคร (character and characterization)
ตัวละคร คือ ผู้กระทำ
ผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำในบทละครมีความสำคัญเป็นอันดับรองจากโครงเรื่อง
การวางลักษณะนิสัยตัวละคร คือ
การที่ผู้เขียนกำหนดให้ตัวละครมีลักษณะนิสัยอย่างไร
ตามความเหมาะสมของเรื่องราวที่เสนอ ส่วนพัฒนาการของนิสัยตัวละครนั้น หมายถึง
การที่นิสัยใจคอหรือเจตคติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตของตัวละคร
มีพัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประสบเหตุการณ์
หรือเหตุการณ์มากระทบวิถีชีวิตตน
ตัวละครที่พบเห็นอยู่สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. ตัวละครที่มีลักษณะเป็นแบบตายตัว
(typed character) เป็นตัวละครที่มองเห็นด้านเดียว “พระเอก” “นางเอก” “ผู้ร้าย”
“ตัวโกง” “ตัวอิจฉา” ตัวละครเหล่านี้ไม่ว่าจะอยู่ในเรื่องใด ก็มักจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน
และมักมีพฤติกรรมเป็นไปตามความคาดหมาย ทำให้ผู้ชมสามารถติดตามเรื่องราวได้โดยง่าย
2.
ตัวละครที่เห็นได้รอบด้าน (well – rounded character) ตัวละครประเภทนี้มีลักษณะคล้ายคนจริงๆ
ต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดจึงเข้าใจตัวละครประเภทนี้
ซึ่งเป็นตัวละครที่มีพัฒนาการของด้านนิสัยใจคอ
หรือมีการเปลี่ยนแปลงเจตคติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิต
เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตัวละคร
ตัวละครประเภทนี้มักพบในโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่
หรือในบทละครสมัยใหม่ที่มีลักษณะเป็นวรรณกรรมชั้นสูง
ความสัมพันธ์ของตัวละครกับโครงเรื่อง หรือ “การกระทำ” ในละคร
เหตุการณ์ต่างๆ
ในละครจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีตัวละคร หรือเกตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นไม่มีความหมาย ถ้ามิได้ไปมีผลกระทบกระเทือนต่อผู้หนึ่งผู้ใดในละคร
ฉะนั้นมีเรื่องใดก็ต้องมีตัวละคร มีตัวละครก็ต้องมีเรื่อง
ฉะนั้นตัวละครจะดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ ก็ต้องอาศัยการกระทำ เรื่องที่น่าสนใจ
และชวนให้ติดตาม ดังนั้นจึงทำให้เรื่องกับตัวละครนั้นมีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นมาก
ข้อบกพร่องของผู้เขียนบทละครที่ไม่ชำนาญ
คือ ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของตัวละครกับเรื่อง ด้วยมีการกระทำของตัวละครไป
ไม่คำนึงถึงผลการกระทำ โดยที่ตัวละครไม่มีส่วนรับผิดชอบในการกระทำของตนเลย
ดังนั้น
สิ่งที่ผู้เขียนบทละครต้องคำนึงถึง คือ ลักษณะนิสัยของตัวละครกับการกระทำ
จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น
3. ความคิด
หรือแก่นเรื่อง(thought) ความคิดจัดอยู่ในความสำคัญอันดับที่ 3 ของละคร ซึ่งหมายถึง
ข้อเสนอที่ผู้เขียนพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริงจากเรื่องราว
และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร ความคิดที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวในละครก็คือ
จุดมุ่งหมายหรือความหมาย (premise) หรือในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า “แก่น” (theme)
4. การใช้ภาษา
(diction)
หมายถึง ศิลปการถ่ายทอดเรื่องราว
และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมาจากคำพูดของตัวละครหรือบทเจรจา ซึ่งอาจเป็นร้อยแก้ว
หรือร้อยกรอง ศิลปการใช้ภาษาอาจเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การเขียนบทละครที่ดี
ซึ่งผู้เรียนต้องศึกษา และวิเคราะห์ว่าบทละครเรื่องนั้นๆ เป็นละครประเภทใด
รวมทั้งลักษณะ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา
และภาษาที่ใช้ต้องไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป
อีกทั้งยังสามารถใช้แสดงออกถึงลักษณะนิสัยของผู้พูด อันจะนำไปสู่เหตุการณ์ต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นต่อไป
5. เพลง (song) หมายถึง
ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมา
บทเพลงที่เป็นตัวละครจะต้องขับร้อง รวมไปถึงเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที
และความเงียบด้วย (ในแง่ละคร)
ในการใช้เพลงจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กับองค์ประกอบหลายอย่าง
และพยายามกำหนดเพลงให้เป็นส่วนหนึ่งของบทละครเช่นเดียวกับบทเจรจา
6. ภาพ (spectacle) คือ บทบาทของตัวละคร ที่สามารถนำมาแสดงให้เห็นได้ด้วยใบหน้า ท่าทาง
และจังหวะอาการเคลื่อนไหวที่แนบเนียน และเพิ่มพูนรสชาติให้แก่ละครเรื่องนั้นๆ
แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/327086
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น