วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบการสื่อสาร


 ความหมาย :         
         กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บ้างอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู่
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล :



1.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
       ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
       ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
3.โปรโตคอล  (Protocol)
       คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC  เป็นต้น
4.ซอฟต์แวร์ (Software)
        การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s Netware, UNIX, Windows NT, Windows 2003 ฯลฯ
5.ข่าวสาร (Message)
        เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบ 
5.1  ข้อมูล (Data)  เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2  ข้อความ (Text)  อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image)  เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4  เสียง (Voice)  อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6.ตัวกลาง (Medium)
        เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูล
สำหรับคอมพิวเตอร์
1.สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
– สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)
– สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)
1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล
เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ
หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
ในรูปแบบของแสง
2.สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานี
ภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
2.3 แอคเซสพอยต์ (Access Point)

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายเมือง  (Metropolises Area Network :MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)
4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
1.การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) 
    เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้
2. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) 
    การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)  
    เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน
4. เครือข่ายแบบ Hybrid
    เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน

อุปกรณ์เครือข่าย
1. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย
2. โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
3. การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN
4. สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว
5. เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้

โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูล
ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกัน
ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกัน
ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่น
องค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่า
มาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด
(Open System International :OSI)



วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการเขียนบทละคร

ในที่นี้หมายถึง การเขียนบทละครให้มีปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการแสดงได้ ปัจจัยในการเขียนที่สำคัญ 3 ประการ คือ
  1. การแบ่งขั้นตอนของโครงเรื่องออกให้ชัดเจนว่า เรื่องดำเนินจากจุดเริ่มต้นแล้วเข้มข้นขึ้น และคลี่คลายไปสู่จุดจบอย่างไร
          1.1 การเริ่มเรื่อง เป็นการแนะนำผู้ดูให้เข้าใจความเดิมและตัวละครสำคัญในเรื่อง
          1.2 การขยายเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องให้เห็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แสดงพฤติกรรมของตัวละครต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
          1.3 การพัฒนาเรื่อง เป็นการแสดงความขัดแย้งขอตัวละครในเรื่อง ทำให้การแสดงเกิดความเข้มข้นขึ้น
          1.4 เป็นการที่ที่พระเอกตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ล่อแหลม ถึงขั้นต้องมีการตัดสินใจกระทำบางการบางประการให้เด็ดขาดลงไป
          1.5 การสรุปเรื่อง หรือการดำเนินเรื่องไปสู่จุดจบบริบูรณ์
2. การแบ่งเรื่องออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อสถานะการณ์ต่างๆ ในแต่ละตอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยแบ่งได้ 6 ประการคือ
          2.1 แสดงความปรารถนาของตัวละคร
          2.2 รักษาความต่อเนื่องของเนื้อเรื่องโดยไม่ทำลายวัตถุประสงค์หลักของเรื่อง
          2.3 ทำให้การดำเนินเรื่องแต่ละตอนประทับใจ
          2.4 สอนเงื่อนงำไว้ในกาละเทศะที่สมควร
          2.5 บรรจุปัจจัยที่ทำให้เกิดความประหลาดใจ
          2.6 เปิดเผยสิ่งต่างๆที่ควรเปิดเผยในกาละเทศะที่สมควร
     3. ลักษณะ คือ กลวิธีในการนำฉันทลักษณ์ต่างๆ มาใช้ในการแสดงออกของสถานะการณ์และความคิดของลักษณะมี 36 วิธี ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าสำนวนที่จะนำมาประพันธ์เป็นบทบรรยายและบทเจรจา ต้องคำนึงถึง
          3.1 พื้นเพของตัวละคร
          3.2 ความรู้สึกที่ต้องการให้เกิดกับคนดู
          3.3 ความแจ่มแจ้งของสาระในเรื่องที่ต้องการถ่ายทอดให้คนดูเข้าใจ
          3.4 ความสัมพันธ์กับลักษณะของคนตรีและทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
การเขียนบทละคร - อาจเขียนจบฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้ เรียกตอนหนึ่งๆว่าองก์ ก็ได้
ฉาก - บอกให้ทราบสถานที่ชัดเจน เช่น ในป่าลึก หาดทราย ในบ้าน หรือในห้อง บอกเวลาในขณะนั้นด้วย
ตัวละคร - บอกเพศ ชื่อและชื่อสกุล อายุรูปร่างลักษณะ
การบรรยายนำเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศ  - ในกรณีเป็นเรื่องยาวควรมีอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นอาจไม่จำเป็น
บทสนทนา  - มีความสำคัญมาก เพราะการดำเนินเรื่องอยู่ที่การสนทนาของตัวละครใช้ภาษาพูดให้เหมือนชีวิตจริงๆ ควรเป็นประโยคสั้นๆเข้าใจง่าย อาจแทรกอารมณ์ขันลงไป จะทำให้เรื่องออกรสยิ่งขึ้น
ตอนจบ  - ต้องจบอย่างมีเหตุผล จบอย่างมีความสุข หรือเศร้า หรือจบลงเฉยๆด้วยการทิ้งท้ายคำพูดให้ผู้ชมคิดเอง อาจเป็นถ้อยคำประทับใจเหมือนละลอกคลื่นที่ยังคงกระทบฝั่ง หลังจากได้ทิ้งก้อนหินลงไปเมื่อครู่ใหญ่ๆ   การขึ้นต้นและการจบเรื่อง เป็นลีลาและศิลปะของผู้เขียนโดยเฉพาะที่จะทำให้ผู้ชมพอใจ แต่เมื่อจบแล้วต้องให้เข้าใจเรื่องโดยตลอด
แหล่งทีมา : http://tyn-pps.exteen.com/20090920/entry  

หลักการเขียนบทละคร

1. โครงเรื่อง ต้องมีลักษณะกะทัดรัด ไม่ยืดยาว ดำเนินเรื่องฉับไว ลักษณะของโครงเรื่องขึ้นอยู่กับชนิดของเรื่อง แต่เรื่องสั้นที่สร้างความประทับใจผู้อ่านมักเป็นเรื่องสั้นชนิดผูกเรื่องโดยหักมุมจบให้ผู้อ่านคาดไม่ถึง
2. ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว ต้องมีลักษณะสมจริง สะท้อนชีวิตหรือเป็นตัวแทนของบุคคลจริง  
3. ฉากต้องสมจริง ให้ภาพจินตนาการชัดเจน น่าสนใจ
4. ถ้อยคำหรือบทสนทนา สมจริง ใช้ภาษาประณีต คมคาย ชวนติดตาม 
แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/chaipon4256/khwam-ru-keiyw-kab-kar-kheiyn-bth-beuxng-tn


องค์ประะกอบของบทละคร

1.โครงเรื่อง (plot) หมายถึง การลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละครอย่างมีจุดหมายปลายทาง และมีเหตุผล
การวางโครงเรื่อง คือ การวางแผนหรือการกำหนดเส้นทางของการกระทำของตัวละคร ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆโครงเรื่องที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง มีความยาวพอเหมาะ ประกอบด้วย ตอนต้น กลาง จบ เหตุการณ์ทุกตอนมีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผล ตามกฎแห่งกรรม
โครงเรื่องที่บกพร่องตามทฤษฎีของอริสโตเติล (Aristotle) คือ โครงเรื่องประเภทที่ผู้เขียนนำเอาเหตุการณ์ต่างๆ มาต่อกันเป็นตอน โดยแต่ละตอนไม่ได้มีความเกี่ยวพันกันเลย ถ้าแม้จะตัดตอนใดตอนหนึ่ง ก็ไม่กระทบกับโครงสร้างของเรื่องเลยแม้แต่น้อย
2.ตัวละคร และการวางลักษณะนิสัยตัวละคร (character and characterization)
ตัวละคร คือ ผู้กระทำ ผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำในบทละครมีความสำคัญเป็นอันดับรองจากโครงเรื่อง
การวางลักษณะนิสัยตัวละคร คือ การที่ผู้เขียนกำหนดให้ตัวละครมีลักษณะนิสัยอย่างไร ตามความเหมาะสมของเรื่องราวที่เสนอ ส่วนพัฒนาการของนิสัยตัวละครนั้น หมายถึง การที่นิสัยใจคอหรือเจตคติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตของตัวละคร มีพัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประสบเหตุการณ์ หรือเหตุการณ์มากระทบวิถีชีวิตตน

ตัวละครที่พบเห็นอยู่สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. ตัวละครที่มีลักษณะเป็นแบบตายตัว (typed character)   เป็นตัวละครที่มองเห็นด้านเดียว “พระเอก” “นางเอก” “ผู้ร้าย” “ตัวโกง” “ตัวอิจฉา” ตัวละครเหล่านี้ไม่ว่าจะอยู่ในเรื่องใด ก็มักจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน และมักมีพฤติกรรมเป็นไปตามความคาดหมาย ทำให้ผู้ชมสามารถติดตามเรื่องราวได้โดยง่าย
   2. ตัวละครที่เห็นได้รอบด้าน (well – rounded character)  ตัวละครประเภทนี้มีลักษณะคล้ายคนจริงๆ ต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดจึงเข้าใจตัวละครประเภทนี้ ซึ่งเป็นตัวละครที่มีพัฒนาการของด้านนิสัยใจคอ หรือมีการเปลี่ยนแปลงเจตคติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิต เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตัวละคร ตัวละครประเภทนี้มักพบในโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ หรือในบทละครสมัยใหม่ที่มีลักษณะเป็นวรรณกรรมชั้นสูง

 ความสัมพันธ์ของตัวละครกับโครงเรื่อง หรือ “การกระทำ” ในละคร
    เหตุการณ์ต่างๆ ในละครจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีตัวละคร หรือเกตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่มีความหมาย ถ้ามิได้ไปมีผลกระทบกระเทือนต่อผู้หนึ่งผู้ใดในละคร ฉะนั้นมีเรื่องใดก็ต้องมีตัวละคร มีตัวละครก็ต้องมีเรื่อง ฉะนั้นตัวละครจะดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ ก็ต้องอาศัยการกระทำ เรื่องที่น่าสนใจ และชวนให้ติดตาม ดังนั้นจึงทำให้เรื่องกับตัวละครนั้นมีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นมาก
   ข้อบกพร่องของผู้เขียนบทละครที่ไม่ชำนาญ  คือ ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของตัวละครกับเรื่อง ด้วยมีการกระทำของตัวละครไป ไม่คำนึงถึงผลการกระทำ โดยที่ตัวละครไม่มีส่วนรับผิดชอบในการกระทำของตนเลย
   ดังนั้น สิ่งที่ผู้เขียนบทละครต้องคำนึงถึง คือ ลักษณะนิสัยของตัวละครกับการกระทำ จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น
3. ความคิด หรือแก่นเรื่อง(thought)  ความคิดจัดอยู่ในความสำคัญอันดับที่ 3 ของละคร ซึ่งหมายถึง ข้อเสนอที่ผู้เขียนพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริงจากเรื่องราว และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร ความคิดที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวในละครก็คือ จุดมุ่งหมายหรือความหมาย (premise) หรือในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า “แก่น” (theme)

 4. การใช้ภาษา (diction) หมายถึง ศิลปการถ่ายทอดเรื่องราว และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมาจากคำพูดของตัวละครหรือบทเจรจา ซึ่งอาจเป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ศิลปการใช้ภาษาอาจเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การเขียนบทละครที่ดี ซึ่งผู้เรียนต้องศึกษา และวิเคราะห์ว่าบทละครเรื่องนั้นๆ เป็นละครประเภทใด รวมทั้งลักษณะ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา และภาษาที่ใช้ต้องไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป อีกทั้งยังสามารถใช้แสดงออกถึงลักษณะนิสัยของผู้พูด อันจะนำไปสู่เหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป
 5. เพลง (song)  หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมา บทเพลงที่เป็นตัวละครจะต้องขับร้อง รวมไปถึงเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที และความเงียบด้วย (ในแง่ละคร)
ในการใช้เพลงจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กับองค์ประกอบหลายอย่าง และพยายามกำหนดเพลงให้เป็นส่วนหนึ่งของบทละครเช่นเดียวกับบทเจรจา
6. ภาพ (spectacle) คือ บทบาทของตัวละคร ที่สามารถนำมาแสดงให้เห็นได้ด้วยใบหน้า ท่าทาง และจังหวะอาการเคลื่อนไหวที่แนบเนียน และเพิ่มพูนรสชาติให้แก่ละครเรื่องนั้นๆ
แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/327086




ข้อคำนึงในการเขียนบทละคร

  การเขียนบทจะให้สมบูรณ์นั้น ผู้เขียนบทจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ในการเขียนบท 
4.1  แนวคิดหลัก (Idea & Main Idea) เป็นเสมือน โครงหรือแก่นของเรื่องนั้นๆ ผู้เขียนบทจะต้องจับ หรือดึงเอาข้อมูลหรือเนื้อหาบางอย่างมาเป็นแกนของเรื่องให้ได้ 
4.2  การเลือกเรื่องผู้เขียนและผู้จัดรายการบทความต้องพิจารณาว่า บทความควรจะเป็นเรื่องอะไร ที่ส่วนใหญ่สนใจ เหตุผลที่จะเขียนเรื่องนั้น ตั้งประเด็นให้แน่นอนลงไปว่าจะเขียนเพื่อจุดประสงค์อะไร สนับสนุนหรือคัดค้านอะไร หรือเพียงแต่ให้ข้อเท็จจริงแล้วเขียนให้อยู่ในประเด็น  
4.3  การศึกษาค้นคว้า เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของบทจะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าบทนั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม โดยซักถามจากนักวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ค้นคว้าจากห้องสมุดหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จัดเก็บเอาไว้ เสร็จแล้วก็ลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา   
4.4  การจัดลำดับข้อมูลหรือเนื้อหา การจัดทำลำดับเนื้อหา เรื่องราวของบทเรียน เป็นการนำกรอบเนื้อหา ที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรมสุดท้าย นำมาลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา การจัดลำดับเนื้อหาต้อง เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ  
4.5  ความยาว สิ่งที่จำเป็นอีกประการหนึ่งสำหรับผู้เขียนบท ก็คือต้องทราบว่าเวลาสำหรับนำเสนอรายการนั้นมีระยะเวลาเท่าไร ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเข้าใจถ่องแท้ เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ ที่เกี่ยวกับเวลาด้วยแล้วจึงกำหนดรูปแบบของรายการ 
4.6  การวางเค้าโครงเรื่องมีจุดประสงค์เพื่อให้งานชิ้นที่เขียนมีจุดหมายที่แน่นอนไม่วกเวียนออกนอกเรื่อง ทำให้วางแนวในการเขียนได้ถูกต้องและทำให้เขียนบทความตามที่ต้องการได้เร็วขึ้น และกำหนดบทนำ ตัวเรื่องและการจบให้มีหลักเกณฑ์ที่ดี แหล่งที่มา :  https://sites.google.com/site/chaipon4256/khwam-ru-keiyw-kab-kar-kheiyn-bth-beuxng-tn

การเขียนบทสัมภาษณ์

    การเขียนบทสัมภาษณ์เพื่อนำเสนอในสื่อต่าง ๆ  มีรูปแบบและเทคนิคในการเขียนแตกต่างกัน สำหรับงานเขียนแต่ละประเภทจะยึดรูปแบบการเขียนพื้นฐานทั่ว ๆ ไป คือ มีชื่อเรื่อง (title)  ความนำหรือเกริ่นนำ (intro)  ส่วนที่เป็นเนื้อหา(content)  และ  ส่วนปิดท้ายหรือสรุป (conclusion)  การเขียนบทสัมภาษณ์สามารถยึดหลักการเขียนดังกล่าวเป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะนักเขียนบทสัมภาษณ์ที่เพิ่งเริ่มต้น  เราอาจพบบทสัมภาษณ์บางเรื่องที่ไม่ได้ยึดหลักพื้นฐานดังกล่าว คือ ไม่มีส่วนนำหรือเกริ่นนำ ไม่มีส่วนท้ายหรือสรุปปิดท้าย  อาจเป็นเพราะพื้นที่ในการตีพิมพ์มีจำกัด จึงต้องมุ่งนำเสนอเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ให้ได้มากที่สุด  ในการสัมภาษณ์บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีส่วนนำเพราะเป็นบุคคลที่รู้จักกัน
รูปแบบในการเขียนบทสัมภาษณ์ที่พบเห็นโดยทั่วไปนั้นดีอยู่แล้ว  สามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ1. การเขียนบทสัมภาษณ์แบบถาม-ตอบ
         เป็นบทสัมภาษณ์พื้นฐานที่นิยมเขียนกันมาก  เพราะเป็นการนำเสนอที่เรียบง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคการเขียนโดยเฉพาะด้านสำนวนภาษามากมายนัก เพียงแค่นำคำถามและคำตอบมาเรียบเรียงให้ได้ใจความสำคัญ และนำเสนอโดยเรียงลำดับเนื้อหาให้ชัดเจนเท่านั้น 
2. การเขียนบทสัมภาษณ์แบบร้อยเรียง
         เป็นการเขียนบทสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ได้ถอดความจากการสัมภาษณ์ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราว โดยเป็นการเขียนที่ไม่จำเป็นต้องมีคำถามของผู้สัมภาษณ์ปรากฏอยู่ในบทสัมภาษณ์เสมอไป เป็นบทสัมภาษณ์ที่อาจมีการยกคำพูด (direct quote) สำคัญ ๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์มาสอดแทรกในเนื้อหาบ้างเพื่อเป็นการเน้นย้ำ
3. การเขียนบทสัมภาษณ์แบบผสมผสาน
        คือการเขียนบทสัมภาษณ์ที่นำรูปแบบการเขียนแบบถาม-ตอบ และการเขียนแบบร้อยเรียงมาผสมกัน การเขียนรูปแบบนี้เป็นการสร้างสีสันให้บทสัมภาษณ์ไม่น่าเบื่อได้อีกรูปแบบหนึ่ง มักใช้กับการสัมภาษณ์ที่มีหลายช่วงเหตุการณ์ ซึ่งเนื้อหาเรื่องไม่ปะติดปะต่อกัน แต่คนสัมภาษณ์ต้องการเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้าไว้ในบทสัมภาษณ์
แหล่งที่มา :https://aofzaa.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2

ประเภทและหลักเกณฑ์ของบทสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          1. การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ  เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถามหรือแบบสัมภาษณ์ล่วงหน้าให้ครอบคลุมเนื้อหาหรือเรื่องราวที่ต้องการทราบจากผู้ถูกสัมภาษณ์
          2. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ  เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์เตรียมแต่ จุดมุ่งหมายไว้แล้วใช้วิธีการสนทนาซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  โดยผู้สัมภาษณ์ต้องพยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกว่ามีบรรยากาศที่เป็นกันเอง  และอาจมีการป้อนคำถามนำบ้าง
หลักเกณฑ์ในการสัมภาษณ์ 
          1. ผู้สัมภาษณ์ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าต้องการรู้สิ่งใดจากผู้ถูกสัมภาษณ์
          2. ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถามหรือคำสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้า
          3. ผู้สัมภาษณ์ต้องสร้างความเป็นกันเองโดยการยิ้มแย้มแจ่มใสแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์
          4. ผู้สัมภาษณ์ควรรู้เรื่องที่ตนเองจะสัมภาษณ์เป็นอย่างดีเพื่อช่วยในการสรุปผล และช่วยในการตั้งคำถามเสริมระหว่างที่สัมภาษณ์
          5. ต้องมีการจดบันทึกผลการสัมภาษณ์อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์หวาดระแวง

แหล่งที่มา :  http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit5/level5-4.html