วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)


Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ) : โปรแกรม SketchUp เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google ชื่อเสียงเรียงนามของผู้พัฒนา ก็คงไม่ต้องบรรยายแล้วว่าดีหรือไม่ดี ที่คราวนี้เข็นเจ้า โปรแกรมออกแบบบ้าน หรือเอาไว้ สร้างโมเดล 3 มิติ ออกมาภายใต้ชื่อ Google SketchUp ออกมาให้คนอยากออกแบบ อยากเล่น อยากลอง อยากฝึกใช้ได้ทดลองใช้ หรือจะให้เด็กๆ ลองใช้ โปรแกรมออกแบบบ้าน ฝึกจินตนาการ ของเด็ก และเยาวชน กับ โปรแกรม SketchUp ตัวนี้ก็ไม่เลว นะ

โปรแกรมออกแบบบ้าน ชั่วหัวว่าใช้ออกแบบบ้าน แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ โปรแกรมออกแบบบ้าน อย่างเดียวแต่ โปรแกรม Google SketchUp ยังสามารถ ออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือ เครื่องจักร เครื่องกล กันได้อย่างง่ายๆ แถมเผลอๆ หาก ออกแบบ กันดีๆ ยังเอาไปใช้งานจิงๆ ได้อีกด้วย รวมถึง โปรแกรม SketchUp นี้ยังสามารถนำไป ออกแบบ วัตถุเล็กๆ น้อยๆ อาทเช่น ทั้ง ออกแบบระเบียงบ้าน ออกแบบหน้าต่าง ออกแบบประตู ออกแบบตู้ ออกแบบโต๊ะ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ งานต่อเติมบ้าน ออกแบบรถ (เหมือนภาพประกอบด้านบน) หรือแม้แต่ ออกแบบยานอวกาศ ในฝัน ยังออกแบบได้ เอากับเค้าสิ จะเป็นยังไงบ้างลองกันเลย

แหล่'ที่มา : http://software.thaiware.com/10038-Google-SketchUp.html

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2 มิติ)


LibreCAD (โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ) : โปรแกรมออกแบบ LibreCAD เป็น โปรแกรมออกแบบ 2 มิติ หรือที่เรียกว่า CAD 2D (Computer-Aided Design Program) ที่อยู่ในโปรเจคโอเพ่นซอร์ส (Open-Source) หากได้ยินชื่อนี้เมื่อไหร่ พึงระลึกเอาไว้เลยว่า แจกฟรี แน่นอน เพราะเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากนักพัฒนาโปรแกรมฝีมือดีจากทั่วโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน โปรแกรมออกแบบ ตรงนี้ได้เป็นพื้นที่ ที่จะมาร่วมออกแบบและพัฒนาร่วมกัน โดย โปรแกรมออกแบบ ตัวนี้สามารถออกแบบวัตถุต่างๆ ได้ 2 มิติ (2D) เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ออกแบบวัตถุ สื่งของ หรืออะไรก็ได้ที่ง่ายๆ อาทิเช่น กลไกของเครื่องจักรกล วิศวกรออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น เป็น โปรแกรมออกแบบบ้าน ได้ดี หรือจะไปใช้ ออกแบบครัวเรือน ออกแบบตึก ออกแบบอาคาร ออกแบบห้อง เพื่อใช้สอยในกิจการ หรือ สถานการณ์ ต่างๆ รวมไปถึงการ ออกแบบถุงพลาสติก ออกแบบเสื้อผ้า ด้านหน้าด้านหลัง ได้เป็นอย่างดี แล้วแต่ตามใจชอบ

แหล่งที่มา : http://software.thaiware.com/2257-LibreCAD-Download.html

เทคโนโลยีสะอาด


เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุน โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียจากแหล่งกำเนิด อันจะช่วยลดภาระในการกำจัดของเสีย รวมถึงก่อให้เกิดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และวัตถุดิบต้นทุนอย่างคุ้มค่า อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถ และประสิทธิภาพของธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย

แหล่งที่มา : http://www.environnet.in.th/2014/?p=8145

5W1H

5W1 หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ 5W1H

วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ
วิธีการพื้นฐาน

วิธีการนี้พยายามที่จะตอบคำถามพื้นฐานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ: ใครอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนทำไมและวิธีการ บางครั้งขึ้นอยู่กับบริบทที่สอง"H"อย่างไร
What.
      คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร

Who.
      สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน

When.
      หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข

Where.
      เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่
Why.เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน

How.
เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจ
เป็นส่วนสำคัญที่สุด

Conclusion.

5W1H สามารถนำไปใช้หัวข้อใด ๆ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย

ที่มา : http://www.thaidisplay.com/content-39.html




ตัวอย่างการออกแบบ

ตัวอย่างกระบวนการทางเทคโนโลยีการออกแบบโคมไฟประดิษฐ์


ขั้นที่
 1.  กำหนดปัญหาและความต้องการ
– ทำโคมไฟที่มีลักษณะ และรูปร่างแปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร
– ทำโคมไฟที่สามารถทำได้ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตนเอง
วัสดุอุปกรณ์หาได้ทั่วไป

ขั้นที่
 2. รวบรวมข้อมูล แสวงหาวิธีการแก้ปัญหา
ทำเป็นทรงกระบอก
ทำเป็นทรงสี่เหลี่ยม
ทำเป็นทรงกลม
ทำเป็นทรงสามเหลี่ยม
ทำเป็นทรงห้าเหลี่ยม

ขั้นที่
 3. เลือกวิธีแก้ปัญหา
ทำโคมไฟทรงกระบอก
ใช้กระดาษลูกฟูกทำ

ขั้นที่
 4. ออกแบบและปฏิบัติการ

ขั้นที่
 5. ทดสอบ
โคมไฟที่ได้จะมีแสงน้อยมาก ไม่ค่อยสว่าง

ขั้นที่
 6. ปรับปรุงแก้ไข
กรีดรูให้กว้างขึ้น และฉีดสีสเปรย์สีทองเพิ่ม

ขั้นที่
 7. ประเมินผล
ได้โคมไฟประดิษฐ์ที่สวยงาม ทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายตามร้านค้า ตามรูปแบบที่ต้องการ


การออกแบบ


 การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบ และคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด ตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา เช่น การจะทำโต๊ะขึ้นมาซักหนึ่งตัว เราจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอน โดยต้องเริ่มต้นจากการเลือกวัสดุที่จะใช้ในการทำโต๊ะนั้น ว่าจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม ในการยึดต่อระหว่างจุดต่างๆนั้นควรใช้ กาว ตะปู สกรู หรือใช้ข้อต่อแบบใด รู้ถึงวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ความแข็งแรงและการรองรับน้ำหนักของโต๊ะสามารถรองรับได้มากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม เป็นต้น
การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม และดูมีความแปลกใหม่ขึ้น เช่น โต๊ะที่เราทำขึ้นมาใช้ เมื่อใช้ไปนานๆก็เกิดความเบื่อหน่ายในรูปทรง หรือสี เราก็จัดการปรับปรุงให้เป็น รูปแบบใหม่ให้สวยกว่าเดิม ทั้งความเหมาะสม ความสะดวกสบายในการใช้งานยังคงเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม เป็นต้น
การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ เข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ การนำองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้สอยและความสวยงาม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ เป็นศิลปะของมนุษย์เนื่องจากเป็นการสร้างค่านิยมทางความงาม และสนองคุณประโยชน์ทางกายภาพให้แก่มนุษย์ด้วย
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด และสร้างความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
การออกแบบ ( Design ) คือศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้ดังนี้
1. ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนดอย่างชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน
2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้นจะต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ไม่ปวดเมื่อย ถ้าเป็นงานกราฟฟิค เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้
3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่า บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้นบางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดี อาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้
ดังนั้นนักออกแบบ ( Designer ) คือ ผู้ที่พยายามค้นหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หาวิธีแก้ไข หรือหาคำตอบใหม่ๆสำหรับปัญหาต่างๆ

กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)
3. เลือกวิธีการ (Selection)
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing)
6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)



ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น


แหล่งที่มา : http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php/?option=com_content&view=article&id=69&Itemid=108


ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ


 1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์ การเรียนรู้การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษา ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งของวิทยาศาสตร์
3.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์  เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์เข้าใจประวัติความเป็นมาของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งช่วยกำหนดอนาคตและความเป็นอยู่ของมนุษย์
4.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับการศึกษา ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เกิดผลดีต่อการศึกษาอย่างมาก
5.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรกรรมในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทั้งการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน
6. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการผลิต การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ผลิตได้ปริมาณมากขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต และลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน
7. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ มีการใช้เทคโนโลยีมาปรับปรุงเส้นทางขนส่งเพื่อหาเส้นทางขนส่งที่ต้นทุนต่ำสุดทำให้การจัดส่งไม่ผิดพลาดเสียหายและทันเวลา เทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น เทคโนโลยี GIS

แหล่งที่มา : https://kruneedesign.wordpress.com/about/


ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี


ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา 
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ 
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่  ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรม  เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น  ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน  หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว  จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอนิกส์  โทรคมนาคม  และข่าวสาร  (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง  ๆ ได้พร้อมกัน  สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ

แหล่งที่มา
 : http://krubie.myreadyweb.com/webboard/topic-17467.html

บทบาทของเทคโนโลยี
 
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้น และกว้างขวางอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่างๆ
 2. การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เป็นต้น
 3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
 4. อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและ ทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน
 5.  ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้นและงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน
แหล่งที่มา :  https://sites.google.com/site/thekhnoloyisarsnthesbeuxngtn/bthbath-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes



ความหมายของเทคโนโลยี

   เทคโนโลยี  หมายถึง  การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น 
แหล่งอ้างอิง:  http://krubie.myreadyweb.com/webboard/topic-17467.html



ค่านิยม 12 ประการ

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
นิสัย : เข้าแถวเคารพธงชาติ

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
นิสัย : คืนของเพื่อนที่เรายืมไป

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
นิสัย : เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ และครูอาจารย์

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
นิสัย : ทบทวนบทเรียน

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
นิสัย : ไหว้ผู้ใหญ่เมื่อเจอ

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
นิสัย : แบ่งปันของให้กับเพื่อน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
นิสัย : เวลาเลือกหัวหน้า ก็จะใช้หลักประชาธิปไตย

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
นิสัย : ปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นิสัย : เวลาทำอะไร ก็จะคิดก่อนตลอดว่าตอนนั้นกำลังทำอะไรอยู่

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
นิสัย : ใช้เงินอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่างๆหรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
นิสัย : เมื่อเวลายากลำบาก ก็อดทนต่อสิ่งต่างๆ

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
นิสัย : เวลาทำงานไม่ควรเอารัดเอาเปรียบคนอื่น



ที่มา : http://www.mnre.go.th/ewt_news.php?nid=3230